top of page

Strategy and Theory of Traditional PR and Digital PR


การทำพีอาร์ในยุตดิจิทัลก็ยังคงต้องทำตามหลักทฤษฎีเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทฤษฎีเริ่มแรกของการทำพีอาร์ในยุคดิจิทัล คงหนีไม่พ้นทฤษฎีพื้นฐานของการทำการตลาด ได้แก่ ทฤษฎี PUSH และ PULL

Push Digital PR Theory : เป็นทฤษฎีสำหรับผู้บริโภคที่เป็นฝ่ายเลือกข้อมูลต่างๆ ด้วยตนเอง ผ่าน Social Network ที่ตนสนใจ ดังนั้นนักพีอาร์จึงควรทำเสนอคอนเท้นต์ที่ทำให้เกิดความสนใจ เป็นที่สะดุดตา พบเห็นได้ง่ายและชักจูงให้ผู้บริโภคสนใจคอนเท้นต์ของเรา ทำให้เกิดการรับรู้และเข้าใจในตัวสินค้าหรือบริการที่เราต้องการประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีกลยุทธ์ อาทิ Viral Marketing, Email Marketing, ซึ่งการสื่อสารแบบนี้เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว One way communication

Pull Digital PR Theory : เป็นทฤษฎีสำหรับนักพีอาร์ที่เป็นฝ่ายสื่อสาร ส่งข้อมูล หรือข่าวสารต่างๆ

ไปยังผู้บริโภคแต่ต่างจากแบบแรก คือ การสื่อสารแบบนี้เป็นการสื่อสารแบบตั้งรับ เช่น

การเขียนคอนเทนต์บนเว็บไซต์ ที่ผู้บริโภคต้องการและการทำ SEO (Search Engine Optimization)

รวมถึงการทำคอมมูนิตี้บน Facebook เมื่อผู้บริโภคต้องการข้อมูลต่างๆ ได้ค้นหา

และได้เจอข้อมูลที่เราได้สร้างเอาไว้ ตลอดจนการสื่อสารผ่านทาง Facebook Fan Page

ที่สามารถสื่อสารโต้ตอบกับผู้บริโภคได้ทันที หรือที่เรียกว่า Two Way Communication

การทำพีอาร์ในยุคดิจิทัลด้วยการใช้ Influential Marketing

มันต่างอย่างไรกับการใช้ดาราหรือเซเลบริตี้มาเป็นพรีเซนเตอร์ ก่อนที่เราจะมาดูความแตกต่างกัน เราต้องเข้าใจวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ อย่างในประเทศไทยการใช้ดารา เซเลบริตี้หรือ Influencer ได้รับการยอมรับเพราะบ้านเราให้ความเชื่อถือบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือมีฐานะในสังคม ขอยกตัวอย่าง IKEA นะคะ IKEA มี Culture บริษัทที่ไม่ใช้ดารา เซเลบริตี้หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงมาเป็น endorser แต่เมื่อมาเปิดที่ประเทศไทยและเจอวิกฤตน้ำท่วม ทาง IKEA จึงยอมทำตาม culture ของไทยที่ต้องมีบุคคลที่มีชื่อเสียงมาร่วมเปิดงานพร้อมบริจาคเงินสมทบทุนให้กับมูลนิธิของไทยอีกด้วย ตามภาพข่าวประชาสัมพันธ์เลยค่ะ


IKEA เปิดบ้านหลังแรกในประเทศไทยที่บางนากิโลเมตร 8: พณฯ เอกอัครราชฑูตสวีเดนประจำประเทศไทย นายคลาส โมลิน คุณหญิงพวงร้อย ดิศกุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการบริหาร โครงการพัฒนาดอยตุงฯ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมป์ นายมีชัย วีระไวทยะ ประธานและผู้ก่อตั้งมูลนิธิมีชัย และนายอรณพ จันทรประภา ประธานคณะกรรมการ บริษัทสยามฟิวเจอร์ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) นายนพพร วิฑูรชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทสยามฟิวเจอร์ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมเปิด IKEA บางนา กับ คริสเตียน เรอแฮรค์ กรรมการผู้จัดการ อิเกียภูมิภาค ลาเชีย เชอร์ล็อค ผู้จัดการ อิเกียบางนา และลาร์ช สเวนสัน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด อิเกียประเทศไทย

IKEA บางนานับเป็น IKEA สาขาแรกในประเทศไทยที่พร้อมนำเสนอเฟอร์นิเจอร์และสินค้าตกแต่งบ้านที่มีความหลากหลาย ดีไซน์สวย ให้ประโยชน์ใช้งานได้ดีในราคาย่อมเยาที่คนทั่วไปสามารถเป็นเจ้าของได้และเนื่องจากสถานการณ์อุทกภัย น้ำท่วม IKEA จึงตัดสินใจเปิดประตูบ้านในเวลา 9 โมงโดยไม่มีการเฉลิมฉลองใดๆ อีกทั้งยังได้มอบเงินบริจาคจำนวน 20 ล้านบาทให้กับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงและสินค้า IKEA มูลค่า 6 ล้านบาทผ่านองค์การสัตว์ป่าโลก (WWF) ซึ่งเป็นองค์กรพันธมิตรเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมอีกด้วย

การสร้างแบรนด์ในยุคดิจิทัลมีหลากหลายกระบวนการสร้างและหนึ่งในกระบวนการสร้างก็คงหนีไม่พ้นการใช้ Influencer เป็นคนบอกสารไปสู่ผู้บริโภคหรือเรียกตามหลักพีอาร์ว่า เป็นผู้เริ่มตันของกระแส Word-of-mouth ซึ่งก็จะทำให้เกิดการแชร์สิ่งที่ Influencer เป็นผู้นำเสนอในกลุ่มที่เขาโด่งดังหรือในเครือข่ายของพวกเขาเอง ผ่านทาง Social Media ไม่ว่าจะเป็น Facebook, InStragram, Twitter, Line นับว่าเป็นการทำพีอาร์ที่ส่งตรงถึงผู้บริโภค ซึ่งการใช้ Influencer จะเห็นผลในระยะสั้น

แล้วทำไมถึงจำเป็นต้องใช้ Influencer

1. เพราะความทรงพลังของ Influencer ทำไมถึงทรงพลัง จากงานวิจัยกล่าวว่า Influencer ช่วยทำให้ผู้รับสารจดจำโฆษณาชิ้นนั้นได้มากขึ้นถึง 37%

2. เพราะสามารถทำให้เกิดการส่งต่อ (Share) ได้รวดเร็วมาก ยิ่งในยุค Social Media ผู้คนรับสารจาก Social Media มากกว่าอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์เสียอีก

3. เพราะช่วยทำให้ ค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วมากขึ้น เมื่อมีการพูดถึงผ่าน user จริงๆ หรือ Influencer ต่างๆ ทำให้เกิดคำหลัก (Keyword) เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะใน Search ถึง 5000% และ สามารถทำให้ค้นหาผ่านเครื่องมือ Search ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

4. เพราะราคาค่าโฆษณาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นสื่อใดๆ ก็ตาม ราคาก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว แต่หากการใช้ Influencer เพื่อให้เกิดการบอกต่อ จะทำให้สามารถลดค่าโฆษณาได้อีกทางหนึ่ง

5. สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายและสามารถตรวจสอบวัดผลได้ การใช้ Influencer ผ่านโลกออนไลน์ สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ เพราะ influencer แต่ละคนมีกลุ่มผู้ติดตามเป็นของตัวเองที่ชัดเจน และ ไม่ว่าการสื่อสารของ เหล่า Influencer ผ่านทางออนไลน์ไม่ว่าจะช่องทางใด ก็สามารถวัดผลได้ว่ามีผู้ชมหรือมีคนเห็นมากน้อยเพียงใด

แต่ในปัจจุบันการใช้ดาราหรือเซเลบริตี้เป็นพรีเซนเตอร์ก็ยังคงมีหลายเบรนด์ที่ยังใช้อยู่ เพราะเห็นผลในระยะยาวและยังมีข้อดี

1. Attention Increasing - สามารถกระตุ้นความสนใจได้สูง

2. Creditability Building - สร้างความน่าเชื่อถือได้สูง

3. Image Polishing - สามารถปรับปรุงภาพลักษณ์สินค้าให้ดีขึ้น

4. Better Quality Image, Better Pricing Image - ทำให้ภาพลักษณ์โดยรวมของสินค้าดีขึ้น

5. Brand Introduction - แนะนำตราผลิตภัณฑ์ใหม่

6. Product Repositioning - สามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งผลิตภัณฑ์ได้

7. Brand Strengthening - สามารถสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ตราผลิตภัณฑ์ได้

8. Underpin Global Campaign - สร้างภาพลักษณ์ในตราสินค้าได้เหมือนกันทั่วโลก

แต่เมื่อมีข้อดี ข้อเสียก็ต้องตามมา

1. Overshadowing the Brand - ดาราหรือเซเลบริตี้มีชื่อเสียงโดดเด่นกว่าตัวสินค้า

2. Conflict Truths - การขัดแย้งกับความเป็นจริง

3. Media Coverage Risk - ความเสี่ยงในการติดตามของสื่อ

4. Overexposure - การปรากฏตัวเป็นผู้นำเสนอสินค้าให้หลายแบรนด์เกินไป

5. Local Recognition - ความไม่ทั่วถึงในการจดจำดาราหรือเซเลบริตี้ที่มีชื่อเสียง

6. Celebrity’s Sudden Change in Image - การกระทำของดาราหรือเซเลริตี้ที่มีชื่อเสียงมีผลต่อภาพลักษณ์

199 views0 comments
bottom of page